“เอกนัฏ” เสริมแกร่งอุตสาหกรรมฮาลาล ผสาน “8 หน่วยงาน 22 สินเชื่อ” ดันผู้ประกอบการไทยสู่การส่งออก

กรุงเทพฯ 25 ธันวาคม 2567 – นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการ กระทรวงอุตสาหกรรม สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ฮาลาล ผ่านกิจกรรม “เรียนแล้ว รับรองได้ ลงทุนง่าย ขายส่งออกเป็น” ผลักดันการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล สนับสนุนแหล่งเงินทุนผ่านผสาน 8 หน่วยงาน 22 สินเชื่อ ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่แก่ผู้ประกอบการต่อไป

ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารและการบริการที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และมีรสชาติตามความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในตลาดมุสลิมที่มีประชากรจำนวนมากและมีแนวโน้มการบริโภคที่สูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน ผ่านกระบวนการตรวจการรับรองฮาลาล รวมทั้งการบริการที่ต้องมีกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม และสามารถส่งออกไป ยังต่างประเทศได้ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลตามมติคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งชาติ (กอฮช.) ครั้งที่ 1/2567 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการ ผ่านกิจกรรม “เรียนแล้ว รับรองได้ ลงทุนง่าย ขายส่งออกเป็น” ภายใต้แนวคิด สานพลังแหล่งเงินทุน รวมพลัง 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมไปถึงการพัฒนาและส่งเสริมการทดสอบ และการรับรองมาตรฐานฮาลาล โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศให้มีศักยภาพ สามารถเติบโต และแข่งขันสู่สากลได้อยางยั่งยืน นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลผ่านกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ (เสือติดปีก) วงเงิน 1,200 ล้านบาท และ สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ (คงกระพัน) วงเงิน 700 ล้านบาท และจะมีโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาลวงเงิน 7 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ เช่น กิจกรรมการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการตลาด การส่งออก และการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกสถานประกอบการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และการขอรับรองมาตรฐานฮาลาล

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลผ่านการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐาน เชื่อมโยงเครือข่ายแหล่งเงินทุน เสริมแกร่งด้วยหน่วยงานส่งเสริมความรู้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ฮาลาลไทยทั่วประเทศให้เติบโตในตลาดสากลอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีพร้อม มีแหล่งเงินทุนสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย (DIPROM Pay) ประกอบด้วยวงเงินกู้ระยะสั้น สำหรับหมุนเวียนในธุรกิจ วงเงินสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะยาวสำหรับลงทุนในสินทรัพย์ถาวร วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อเพื่อลงทุนหรือขยายธุรกิจ DIPROM Pay for BCG วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมด้านฮาลาลโดยดีพร้อม ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ปลอดเงินต้นเป็นระยะเวลา 12 งวด หรือ 1 ปี นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า EXIM BANK พร้อมสนับสนุนและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและ การลงทุนระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมากในเวทีโลก ผ่านนวัตกรรมทางการเงิน ทั้งสินเชื่อและเครื่องมือบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุน โดย EXIM BANK สานพลังกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญสร้างนักรบเศรษฐกิจไทยที่มีความพร้อมทั้งด้านความรู้ เครือข่ายธุรกิจ และเงินทุนที่จะเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจใน Supply Chain การส่งออกสินค้าอาหารโลก แคมเปญพิเศษเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2568 ของ EXIM BANK สำหรับผู้ส่งออกสินค้าฮาลาล ประกอบด้วย 1. โปรแกรมสินเชื่อเงินทุน Halal อุ่นใจ เพื่อเสริมสภาพคล่องสำหรับใช้หมุนเวียนในกิจการหรือลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงเงินอนุมัติสูงสุด 200 ล้านบาท อัตราพิเศษเริ่มต้นเพียง 3.25% ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดถึง 10 ปี ผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลแล้วหรือมีรายได้จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศภายใต้องค์การความร่วมมืออิสลาม (The Organization of Islamic Cooperation: OIC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 57 ประเทศ สามารถขอรับอัตราพิเศษเพิ่มเติมเหลือเพียง 2.99% สำหรับ 6 เดือนแรก และ 2. โปรแกรมประกัน Halal สบายใจ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ วงเงินรับประกันสูงสุด 2 ล้านบาทต่อกรมธรรม์ อัตราความคุ้มครอง 70% ของมูลค่าความเสียหาย สิทธิพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถเลือกรับความคุ้มครองผู้ซื้อ 1 ราย (วงเงินคุ้มครอง 300,000 บาท) หรือส่วนลดค่าประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อมูลค่า 2,000 บาท และรับเพิ่มเป็น 2 ราย หรือเลือกรับส่วนลดค่าประเมินความเสี่ยงผู้ซื้อเพิ่มเป็น 4,000 บาทสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลหรือมีรายได้จากการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ OIC นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ ธนาคารได้จัดเตรียมบริการ “ด้านการเงินควบคู่ด้านการพัฒนา” ไว้สนับสนุนยกระดับสร้างมาตรฐานต่อยอดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยสู่อุตสาหกรรมฮาลาล คว้าโอกาสประสบความสำเร็จจากตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับด้าน “การเงิน” ผ่านผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ครอบคลุมทุกความต้องการ เช่น สินเชื่อ Smile Biz ธุรกิจฮาลาลยิ้มได้ ช่วยเสริมสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 6.4%ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 7 ปี , สินเชื่อ SME Green Productivity For SMEs Halal สนับสนุนก้าวสู่อุตสาหกรรมสีเขียว อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี คงที่ตลอด 3 ปีแรก วงเงินกู้สูงสุด 10 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี , สินเชื่อ BCG Economy For SMEs Halal ลงทุน ปรับปรุง ขยายธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.65% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 15 ปี และสินเชื่อ Refinance Plus For SMEs Halal ช่วยลดต้นทุน อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.99% ต่อปี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ผ่อนนานสูงสุด 15 ปี เป็นต้น ควบคู่กับด้าน “การพัฒนา” ผ่านแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank (dx.smebank.co.th) ที่สะดวกสบาย ช่วยเสริมแกร่งธุรกิจครบวงจรตลอด 24 ชม. ทุกที่ ทุกเวลา และที่สำคัญ สำหรับในโครงการนี้ ธนาคารจัดเตรียมแคมเปญพิเศษเพื่อเป็นของขวัญในเทศกาลปีใหม่ 2568 ด้วยการมอบโปรโมชั่น 3 ต่อ ให้แก่ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับธนาคาร ได้แก่ ต่อที่ 1) เมื่อยื่นขอสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป เอกสารครบตั้งแต่ 2 ม.ค.- 28 ก.พ. 2568 และได้รับอนุมัติภายใน 31 มี.ค. 2568 จะได้ลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ สูงสุดล้านละ 5,000 บาท ต่อที่ 2) รับ 500 Point นำไปใช้ประโยชน์ในแพลตฟอร์ม DX by SME D Bank และต่อที่ 3) นำ Point มาแลกรับเครื่องมือต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ จาก SME D Bank ฟรี เช่น ค่าอบรม Premium Couser และระบบริหารธุรกิจ ERP เป็นต้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายส่งเสริมการตลาด โทร.02-265-4598, 4961, 4064 หรือ Call Center 13 ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) กล่าวว่า ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมครั้งนี้ ไอแบงก์ได้จัดแพ็กเกจสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเริ่มต้นและต่อยอดให้แก่ธุรกิจฮาลาลตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างความพร้อมผ่านสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือเป็นเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจ ตลอดจนสินเชื่อเพื่อนำเข้าเครื่องจักรหรือวัตถุดิบ และส่งออกสินค้าฮาลาลไปนานาประเทศ ด้วยอัตรากำไรเริ่มต้น 2 ปีแรกเพียง 3.50% ต่อปี กรณีผู้ประกอบการไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันหรือหลักประกันไม่เพียงพอก็สามารถขอสินเชื่อกับไอแบงก์ได้ กรณีผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการมีเครื่องหมายฮาลาลไอแบงก์มอบส่วนลดอัตรากำไรเพิ่มให้ กรณีไม่มีเครื่องหมายฮาลาลไอแบงก์สามารถสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถขอเครื่องหมายฮาลาลได้โดยการอำนวยความสะดวกส่งต่อให้แก่หน่วยงานพันธมิตรได้แก่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศที่มีอำนาจหน้าที่ในการออกเครื่องหมายรับรองฮาลาลได้ รวมถึงการต่อยอดผู้ประกอบการสู่การส่งออกที่ไอแบงก์มีความร่วมมือกับ EXIM ตั้งแต่ปี 2566 และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการมากกว่า 500 ราย ซึ่งมีมูลค่าการให้สินเชื่อและการรับประกันการส่งออกสูงกว่า 2,000 ล้านบาท นอกจากนี้ไอแบงก์ยังสามารถเชื่อมโยงผู้ประกอบการฮาลาลเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม (TMTA) หรือ สมาชิกสถาบันนักธุรกิจมุสลิม Muslim Business Matching (MBM) เพื่อเปิดโอกาสสร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มนักธุรกิจมุสลิมในประเทศไทยและทั่วโลกด้วย ดังนั้น นอกจากไอแบงก์จะมีความมุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนห่วงโซ่ของธุรกิจฮาลาลหรือ Halal Supply Chain แล้ว ยังมีความพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมผลักดันการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ ฮาลาลโลกได้ นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ (บสย.) กล่าวว่า บสย. เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพแต่หลักประกันไม่เพียงพอ ได้ขานรับนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล ด้วยโครงการ ค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 11 SMEs ยั่งยืน ในวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์สำคัญ เช่น 1) Smart Green อนาคตที่ยั่งยืน กับแหล่งเงินทุนที่ SMEs เข้าถึงได้ เหมาะสำหรับธุรกิจ BCG หรือ ESG ธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วงเงินค้ำประกันสูงสุด 1 – 40 ล้านบาทต่อราย ค่าธรรมเนียมต่อปี 1.5% ฟรีค่าธรรมเนียม 4 ปีแรก และ 2) SMEs Ignite Biz เฉพาะ SMEs ประเภทนิติบุคคลที่ต้องการเงินลงทุนหมุนเวียนในกลุ่มการท่องเที่ยว การแพทย์และสุขภาพ ขนส่ง ยานยนต์แห่งอนาคต การบิน การเงิน เศรษฐกิจดิจิทัล และธุรกิจอาหาร โดยยื่นคำขอให้ค้ำประกันขั้นต่ำครั้งละไม่น้อยกว่า 0.2 ล้านบาท สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อราย ค่าธรรมเนียมต่อปี 1.5% ฟรีค่าธรรมเนียม 3 ปีแรก เป็นต้น พล.ต.ต. สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย(สกอท.) กล่าวว่า สกอท. เป็นองค์กรศาสนาอิสลามที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่ไม่ได้แสวงหากำไร เป็นผู้ให้การรับรองฮาลาลและอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล ขานรับนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล โดยส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมให้มีการขอใบรับรองผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลแก่สินค้าและบริการ เพื่อผลิตสินค้าและบริการฮาลาลที่สะอาดปลอดภัยตามหลักการศาสนาอิสลามและเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการฮาลาลรวมทั้งเพื่อสนองตอบความต้องการตลาดที่ต้องการสินค้าและบริการฮาลาลได้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.จฬ.) กล่าวว่า ศวฮ.จฬ. ให้บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ประกอบด้วย งานบริการทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล งานวิจัยและนวัตกรรม งานบริการวิชาการ/หลักสูตร งานบริการหน่วยงานภายนอก ขานรับนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล โดยส่งเสริมให้การพัฒนางานบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล การใช้วิทย์เทคฮาลาลและการพัฒนาฮาลาลบล็อกเชน งานบริการทางห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล งานวิจัยและนวัตกรรม การให้คำปรึกษาด้านการบ่มเพาะวิสาหกิจฮาลาล การพัฒนานวัตกรรม งานบริการชำระล้างนญิสทุกชนิดด้วยน้ำยาคอลลอยด์ดิน HALKLEAN งานพัฒนา Halal Blockchain แก่ภาคอุตสาหกรรม งานพัฒนาแอปพลิเคชันร้านอาหารและการท่องเที่ยว Halal Route งานบริการฐานข้อมูลสารเคมีวัตถุดิบฮาลาลตามระบบ H numbers เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันฮาลาลของประเทศไทย