กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดงานประกวดแข่งขันการนำเสนอสินค้าในสื่อเว็บไซต์ตลาดกลางหรือสื่อสังคมออนไลน์ (OTOP to Digital Society Development Projects )ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาของผู้ประกอบการ OTOP และผู้ประกอบการหมู่บ้าน ที่เข้าร่วมโครงการ โดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นผนวกเข้ากับเทคโนโลยี สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพิ่มยอดขายบนสื่อสังคมออนไลน์

 

สำหรับโครงการพัฒนาผู้ประกอบการOTOP ก้าวสู่สังคมดิจิทัล ดำเนินโครงการมา 2 ปี มีผู้ประกอบการเข้ารับการอบรมจำนวนกว่า 1,000 ราย สามารถขายสินค้าบนตลาดออนไลน์และยอดขายรวมกว่า 40 ล้านบาท ผ่านระบบe-commerceอาทิเว็บไซต์Etsy, Alibaba, Lazada รวมถึง เว็บไซต์ดิจิทัลOTOP ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ และในปีนี้ได้จัดต่อเนื่องขึ้นเป็นปีที่ 3โดยมีการกำหนดหลักสูตรที่มีความเข้มข้นและเน้นการลงมือปฏิบัติจริง มีวิทยากรให้คำปรึกษาตลอดการดำเนินโครงการ และดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้สนใจเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม2561 ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ OTOPระดับ 3 ดาวขึ้นไป และผู้ประกอบการจากชุมชนหมู่บ้าน CIV โดยคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีความพร้อมเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรการพัฒนาเบื้องต้น จำนวน 314ราย จากนั้นทำการคัดกรองผู้ประกอบการที่มีความพร้อม เพื่อเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเข้มข้น จำนวน 100ราย และได้ดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการที่มีผลการพัฒนาที่ดีเด่น จำนวน 23 ราย พร้อมทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่มีผลการพัฒนาดีเด่นให้นำเสนอผลงานเข้าร่วมการประกวดแข่งขัน


นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดทำโครงการพัฒนาผู้ประกอบการOTOP ก้าวสู่สังคมดิจิทัล(OTOP to Digital Society Development Projects : OTOP DSDP)โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถนำทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาบริหารกิจการและพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ โดยเฉพาะช่องทางการตลาดใน Social Network ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ให้เข้ากับเทคโนโลยี เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และสามารถเพิ่มยอดขายบนสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้น กสอ. จึงจัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันการนำเสนอสินค้าในสื่อเว็บไซต์ตลาดกลางหรือสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ภายใต้โครงการดังกล่าว เพื่อพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการ OTOPให้สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสร้างช่องทางการตลาดในSocial Network ด้วยการจัดทำเรื่องราวภูมิปัญญาและสื่อประชาสัมพันธ์ที่น่าสนใจ สร้างความแตกต่างในลักษณะรูปแบบContent Marketingและอำนวยความสะดวกในการบริโภคได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสร้างช่องทางการตลาด Online ในลักษณะ e-commerce ที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจัดเก็บข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อนำไปจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการตลาด ทำให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ สามารถสร้างโอกาสทางการตลาดและกระจายสินค้าผ่านระบบ e-commerce ได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาผู้ปรกอบการในด้านเทคโนโลยีด้วยการอบรมการใช้ งาน ผ่าน Platformเพื่อรองรับด้านการตลาดในระดับสากล และยกระดับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการให้มีศักยภาพ ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสูงขึ้น


โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลจำนวน 10 รางวัล ประกอบด้วย

ในส่วนรางวัลชนะเลิศ 5 รางวัล ได้แก่

– นางพนิดา แต้มจันทร์ จากผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์

– นางสาวพนิดา แซ่จิว จากผลิตภัณฑ์จันทร์สมโกลด์ มอยส์เจอร์สเปรย์

– นางสาวเธียรรินรดี วิสุทธิแพทย์ จากผลิตภัณฑ์ยาแคปซูลสมุนไพรตราเพชรแดง

– นายวิวัฒน์ ชำประชา จากผลิตภัณฑ์ถั่วเทพ

– นายณรงค์ฤทธิ์ เหล่ารุ่งฤทธา จากผลิตภัณฑ์รังนกทอง

รางวัลBest Creative Award 5 รางวัล ได้แก่

 

– นางสาวดรุณี อ่วมแก้ว จากผลิตภัณฑ์โถดินเผาหุ้มผ้าทอมือ

– นายธนา จันทนากร จากผลิตภัณฑ์กล่องไม้ติดกระดาษสา

– นางสาวจุฑาทิพห่วงสุวรรณ จากผลิตภัณฑ์ชุดสมุดและกล่องนามบัตร

– นายวีระเชต สะโรดม จากผลิตภัณฑ์เกลือสปาขัดผิว 

– นางกชพร เปี้ยสืบ จากผลิตภัณฑ์น้ำพริกกรอบสมุนไพร

ดร.วีระนันท์ คำนึงวุฒิ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

    

ท่านผู้ประกอบการที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการในปีต่อไป หรือสนใจโครงการอื่นๆ ของกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ติดตามรายละเอียดได้ที่

เว็บไซต์กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์https://dcr.dip.go.th/th

Facebook:กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์,

เว็บไซต์ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ www.id-society.comและ

Line: @whx4725g (Thai-IDC Center)