Agricultural and Food Marketing Association Secretariat ( AFMA Secretariat ) เปิดการสัมมนา Sustainable Branding – Coffee and Beyondเปิดการสัมมนา Sustainable Branding – Coffee and Beyond ณ. ห้อง Auditorium ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ

 

การจัดงานสัม Sustainable Branding – Coffee and Beyond ครั้งนี้ AFMA Secretariat  ได้รับเกียรติจาก คุณธิราช รุ่งเรืองกนกกุล ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการตลาดเพื่อเกษตรและอาหารแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค (AFMA)  ได้มาพูดถึง การสร้างแบรนด์ (Branding) เริ่มจากการเริ่มต้นชื่อ ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ โดยมุ่งก่อให้เกิดความสนใจและรักษาภาพลักษณ์จากผู้บริโภค เสนอโมเดล 6 ขั้นตอนของ Kotler  ห่วงโซ่คุณค่าของกาแฟ ค่อนข้างที่จะมีความเลื่อมล้ำอย่างมาก โดยเกษตรกรได้รายได้จากราคาขายกาแฟ ณ ราคาขายเพียง 5% ซึ่งน้อยกว่ารายได้จากส่วนของราคาแก้ว หรือ หลอด หากผู้ประกอบการรายย่อยแข่งขันกัน คงไม่สามารถชนะรายใหญ่ได้ แต่หากรวมตัวกัน จะทำให้สำเร็จได้มากกว่า  การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สามารถนำลูกค้าเข้าไปหาผู้ผลิตโดยตรง ได้รับการนำเสนอสินค้าและบริการ เปลี่ยนจากคนแปลกหน้า เป็นพันธมิตร ซึ่งทั้งหมด ล้วนแต่ตอบโจทย์เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก่อตั้ง Sustainable Coffee Academy, Geographical Indications Traceability Network และ Asia Farmstay Network เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในประเทศไทย อาเซียน และเอเชียแปซิฟิค

 

นอกจากนี้ คุณ Stephane Passeri Director จาก Heritage Consulting co., Ltd. และ Advisory Board ของ AFMA ยังได้นำเสนอ Geographical Indications (GI) เช่น แชมเปญ บรอกโดว์ หรือ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ภายใต้ข้อตกลงของ WTO มากกว่า 160 ประเทศตกลงให้สิทธิ์ความคุ้งครองสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI อย่างชัดเจน ประเทศในภูมิภาค Asia มีความก้าวหน้าในการพัฒนาสินค้า GI เป็นอย่างมาก ซึ่งล้วนแต่มีกฎหมายที่มีข้อบังคับชัดเจน ตราสินค้า GI จะประกอบด้วยสองภาษาเสมอ คือภาษาท้องถิ่น และภาษาอังกฤษ GI ไม่เพียงแต่ต้องมาจากแหล่งปลูกหรือแปรรูปที่พิเศษ แต่ยังต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่มาและกระบวนการ ตัวเชื่อมโยง และระบบควบคุมภายใน  GI ไม่เพียงแต่เพิ่มมูลค่าให้สินค้า แต่ยังก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กร ภาคธุรกิจ และชุมชน และสมาคมต่างๆ


คุณพ่อ Bruno Rossi กล่าวว่า การพัฒนาแบรนด์สินค้าจองกาแฟ เริ่มต้นจากการสังเกตเห็นถึงคุณภาพกาแฟคั่วที่ไม่ดี แม้จะมีเมล็ดพันธ์ที่ดี แต่ก็ไม่สามารถจัดการเรื่องของแรงงาน โครงการกาแฟบรูโน เริ่มต้นนำกาแฟของเกษตรกรมาคั่ว ให้มีคุณภาพ และนำมาขายเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเด็กนักเรียน กาแฟบรูโนได้รับรางวัลเหรียญทองรายการ International Coffee Tasting และเริ่มเป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคมากขึ้น รูปแบบของคุณพ่อสามารถทำซ้ำได้ หากเราสามารถจัดการควบคุมคุณภาพของกาแฟ สืบทวนย้อนกลับและแนะนำให้เกษตรเข้าในคุณภาพของกาแฟ

เครือข่ายการตรวจสอบย้อนกลับและแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่ออาหารและเกษตรเพื่ออำนวยความ สะดวกการรับรองแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สร้างองค์ความรู้ และระบบรับรองคุณภาพ ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ความต้องการของผู้บริโภค และปกป้องผู้บริโภค และสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ได้ประโยชน์ และสาธารณะ เครือข่ายการตรวจสอบย้อนกลับและแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่ออาหารและเกษตร (GITN) จะอำนวยความสะดวกให้กับความปลอดภัยของอาหาร คุณค่าสารอาหาร ความเชื่อมโยงกับแหล่งผลิต คุณค่าตราผลิตภัณฑ์ของชุมชน สู่ผู้บริโภค ด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง อย่างยั่งยืน ความเชื่อถือในห่วงโซ่มูลค่าอาหารและเกษตร GITN เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้กำหนดนโยบาย ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน เพื่อสร้างความยั่งยืน ให้แก่ห่วงคุณค่าอาหาร

ท้ายสุด คุณโจ ประสบสุข ถวิลเวชกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทเกรทเอิร์ธ อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด บอกว่า โครงการ Iterra ของแบรน Lavazza ซึ่งมีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค ริเริ่มโครงการ Iterra ผ่านมูลนิธิ Lavaza ผ่านการบระชาสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน การศึกษาของเด็กนักเรียน ทำให้เกษตรกรได้รับค่าตอบแทนจากการปลูกกาแฟมากขึ้น กาแฟได้มีการรับรอง Rainforest Alliance และมีหลักสูตรการจัดการทางเกษตรที่ดีในประเทศ บราซิล ฮอนดูรัส แทนซาเนีย เปรู อินเดีย

AFMA Secretariat ได้มีการจัดตั้ง Sustainable Coffee Academy Geographical Indications Traceability Network Asia Farmstay Network เพื่อเรียนรู้และศึกษาแก่คนในองค์กร

ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่  www.sustainableagrofood.org

secreatariat@sustainableagrofood.org

info@afmaasia.org