10 พฤศจิกายน 2566 / กรุงเทพฯ : โอ๊ต-ภาดา ขอทวงความยุติธรรม และขอโอกาสจากสังคม กรณีเคยเป็น “แพะรับบาป” จากคดีฉ้อโกง สจล. เผยพยายามทวงความยุติธรรมมาตลอด 8 ปี เพื่อพิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้โกงเงิน สจล. จนศาลยืนยันความบริสุทธิ์ แต่กลับโดนสังคมไม่ให้โอกาส-ชาวเน็ตขุดประเด็นเก่าของตนเอง และทำให้ตัวเองสูญเสียโอกาสจากการทำงานมากมาย จนรู้สึกเหนื่อยเหลือเกินที่จะสู้ต่อ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2558 นายภาดา บัวขาว หรือที่สื่อตั้งฉายาในตอนนั้นว่า “โอ๊ต พราด้า” ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามจับกุมในคดีข้อหาร่วมกันทุจริตเงิน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยที่ตัวเขาโดนจับกุมพร้อมโดนยึดของกลางซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของเขาเอง มูลค่ารวมกว่า 5 ล้านบาท โดยที่เขาไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะคัดค้านการประกันตัว เขาถูกสื่อมวลชนรายหนึ่งเขียนข่าวโจมตีด้วยการนำเสนอข่าวบิดเบียน เกินความเป็นจริง ทำให้ชาวเน็ตรุมคอมเมนท์ด่าโอ๊ต ภาดา เสียๆ หายๆ หลังจากนั้นเขาพยายามขอประกันตัวและส่งเอกสารยืนยันความบริสุทธิ์ทุกอย่าง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับไม่ฟังเขา แม้กระทั่งการเรียกทนายให้ต่อสู้คดีหรือพูดคุยกับครอบครัวเขาก็ไม่ได้รับโอกาสนั้นเลย เพราะตำรวจยึดโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้ไม่สามารถติดต่อและประสานงานกับใครได้


หลังจากนั้นในวันที่ 17 มีนาคม 2558 โอ๊ต ภาดาก็ได้ถูกส่งไปฝากขังในเรือนจำพิเศษมีนบุรี ระหว่างนั้นเขาก็พยายามต่อสู้คดี เขาตัดสินใจเรียนรู้ข้อกฎหมายและยืนยันความบริสุทธิ์ของเขาที่ไม่ได้มีโอกาสแม้แต่จะพิสูจน์ด้วยซ้ำ จนทำให้เขาพยายามจบชีวิตตัวเองหลายครั้งภายใต้ลูกกรง และจากการที่เขาถูกจำคุกทั้ง ๆ ที่ตนเองไม่ได้ทำผิดนั้น นอกจากสื่อมวลชนบางส่วนที่เห็นว่าที่เห็นว่าข่าวเขาเป็นที่น่าสนใจก็นำเสนอข่าวและประโคมข่าวกันใหญ่ เมื่อข่าวโอ๊ต ภาดาดังไปทุกสื่อ เลยทำให้ครอบครัวของเขาได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดย โอ๊ต-ภาดา บัวขาว ได้ให้ข้อมูลกับเราว่า “ในช่วงเวลานั้นครอบครัวได้รับผลกระทบจากการถูกชาวบ้านรอบข้างตีตราว่ามีลูกเป็นคนโกง เป็นหัวขโมย เป็นคนขี้คุก จนทำให้ลูกชายของเขาเป็นซึมเศร้า ไปโรงเรียนก็โดนเพื่อนล้อ ว่ามีพ่อติดคุก!!! แถวครอบครัวยังอยู่ที่บ้านไม่ได้ ต้องย้ายที่อยู่ทันที”
ย้อนกลับไปถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในตอนนั้น โอ๊ตได้เล่าให้กับเราฟังว่า “ณ ตอนนั้นมีคดีฉ้อโกงเกิดขึ้น ซึ่งประจวบเหมาะว่าตอนนั้นทางโอ๊ตได้รับงานจ้างเป็นออกาไนเซอร์จากผู้ว่าจ้างรายหนึ่ง ซึ่งกลายไปเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยผมได้ทำงานออกาไนเซอร์และรับเงินจำนวน 7 ล้านบาทตามปกติ ซึ่งการทำงานนั้นเราก็มีสัญญาว่าจ้างมายืนยันว่าเราไม่ได้เกี่ยวข้อง สิ่งที่เกิดขึ้นคือในวันจับกุมและกล่าวหาว่าผมฉ้อโกงนั้น ผมไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะขอประกันตัว เพราะตำรวจคิดว่าผมจะไปยุ่งเกี่ยวกับหลักฐานที่มีผลต่อรูปคดี ผมไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะคัดค้านอะไรเลยในวันนั้นผมได้ปฏิเสธทุกข้อหา แต่ตำรวจก็ไม่ฟัง ถึงแม้ผมจะพยายามยื่นเอกสารไปแล้วก็ตาม”


ในช่วงเวลานั้นโอ๊ต ภาดาพยายามต่อสู้มาโดยตลอด จนเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ศาลชั้นอุทธรณ์มีคำพิพากษาอีกครั้งให้โอ๊ตเป็นผู้บริสุทธิ์ หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแบบเดียวกัน ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นศาลได้พิสูจน์แล้วว่าหลักฐานของการเอาผิดนั้นไม่เพียงพอ และศาลยกประโยชน์ให้จำเลยซึ่งไร้ข้อสงสัย ทำให้ได้รับการปล่อยตัวหลังจากที่ถูกจำคุก เกือบ 4 ปีไปแล้ว และนั่นทำให้โอ๊ต ภาดาได้หาทนายเพื่อมายื่นฟ้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้กล่าวหา และตำรวจที่ดำเนินการในคดีนี้รับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินที่ถูกยึดไปกว่า 5 ล้านบาท ที่โอ๊ต ภาดาพยายามทวงจากตำรวจกองปราบปราม แต่สิ่งที่โอ๊ตได้รับคำตอบจากตำรวจก็คือ “ของได้สูญหายไปแล้ว เนื่องจากทีมเดิมที่จับกุมได้ย้ายออกไปทีมอื่นแล้ว และมีการย้ายอาคารสำนักงาน ทำให้ของบางส่วนสูญหาย” โอ๊ตถึงกับน้ำตาตกและคิดว่าทำไมของที่ตนเองหามาได้ จึงต้องสูญหายไปเพราะความไม่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่

หลังจากที่โอ๊ต ภาดาพิสูจน์ได้ว่าตนเองบริสุทธิ์ โอ๊ต ภาดาก็ได้ออกไปหางานทำ ทั้งการกลับมารับจ้างจัดงานอีเวนท์และการทำอาชีพอื่นๆ แต่ทุกครั้งที่เขาหางานหรือสมัครงานก็มักจะถูกตีตราและไม่รับเข้าทำงาน เพียงเพราะเขาเคยติดคุกจากคดีที่ตนเองไม่ได้ก่อไว้ ซึ่งเขาถูกปฏิเสธงานมากกว่า 15 งาน และบางงานเขาก็สูญเสียโอกาสที่จะได้รับเงินเป็นสิบล้าน เพียงเพราะเรื่องในอดีตที่สื่อมวลชนเคยนำเสนอไว้ แล้วไม่ได้มีการรับการแก้ไขใดๆ เลย แม้กระทั่งตอนที่ตนเองได้รับสิทธิ์การจัดการประกวดนางงามแห่งหนึ่ง ในระดับจังหวัด เขาก็ถูกคนรอบตัวและชาวเน็ตขุดคุ้ยข่าวเก่าที่เขาไม่ได้ทำออกมาคุยกัน จนทำให้งานของเขาออกมาเสียหาย โดนสปอนเซอร์ยกเลิกงาน จนตัดสินใจไปฟ้องร้องที่สายไหมต้องรอด เพื่อทวงความยุติธรรมคืนมา
หลังจากนั้นในระหว่างที่โอ๊ต ภาดามีปัญหาในการทำงานและไม่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ เพราะไม่มีความน่าเชื่อถือกับข่าวที่เกิดขึ้นซึ่งตนเองไม่ได้ทำไปนั้น คุณเคนโด้-เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร WAG GROUP ก็ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือและให้โอกาสในการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ผ่านการทำการตลาดออนไลน์ โดยเคนโด้ได้กล่าวว่า “โอ๊ตได้ติดต่อผมมาเล่าเรื่องที่ตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม พอผมฟังเรื่องนี้ ผมรู้สึกได้เลยว่านี่คือความผิดพลาดของระบบจริงๆ จึงยื่นมือเข้ามาช่วย ทั้งเรื่องภาพลักษณ์ของโอ๊ต และการเริ่มต้นทำธุรกิจออนไลน์กับ WAG GROUP โดยผมพร้อมให้โอกาสใหม่เพื่อให้ชีวิตของเขาดีขึ้นมากกว่าเดิม”

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกระทรวงยุติธรรม ได้อนุมัติเงินเยียวยาเป็นจำนวนเงินรวม 1,073,000 บาท โดยเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เป็นผู้มอบเงินเยียวยาผู้เสียหายจากกระบวนการยุติธรรม ณ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งนายภาดา บัวขาวเป็นหนึ่งในผู้เสียหายที่ได้รับมอบเช่นเดียวกัน และโอ๊ต ภาดาก็ได้กล่าวส่งท้ายว่า “นี่ถือเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงในกระบวนการยุติธรรมที่จู่ ๆ คุณจับกุมคนที่ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ เลย และยังไม่รับฟังหรือรับหลักฐานใดๆ ซึ่งทั้งผู้กล่าวหาและผู้ดำเนินการในคดีทุกคนจะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะสุดท้ายแล้วคุณทำให้คนๆ หนึ่งนั้นจากชีวิตที่ดีอยู่แล้ว กลายเป็นแพะรับบาปในคดีนี้ รวมไปถึงสื่อมวลชนที่เคยพาดหัวหรือเล่นเรื่องผม ก็ขอความกรุณาแก้ไขในสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจนส่งผลให้ผมไม่สามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นข่าวเก่าหรือเรื่องในวันนี้ ก็ขอให้เสนออย่างตรงไปตรงมา มีความรับผิดชอบ และในวันนี้ผมต้องขอขอบคุณกระทรวงยุติธรรมที่ให้ความช่วยเหลือกับผม ตลอดจนขอบคุณคุณเคนโด้ และทีม WAG GROUP ที่หยิบยื่นโอกาสใหม่ในการทำธุรกิจแก่ผม สุดท้ายนี้ผมขอโอกาสจากสังคมและทุกคน ผมได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นนั้น ผมไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดแต่อย่างใด ก็อยากจะขอให้ทุกคนให้โอกาสอีกครั้งด้วยครับ และขอขอบคุณพี่น้อง FLYGA บ้านปั้นสุข โกดังปันสุข องค์กรที่น่ารักที่อยู่เคียงข้างผมตลอดเวลา ขอบคุณเพจสายไหมต้องรอด ขอบคุณทนายไพศาล

ผมขอโอกาสพี่ๆ สื่อมวลชนขอมีพื้นที่เล็กๆ ในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ”
ติดตามเรื่องราวของคุณโอ๊ต ภาดาได้ทาง
Facebook : เฮียโอ๊ตภาดา คนจับนาค