คุณฐากูร พานิช รักษาการรองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าวปิดกิจกรรมรับแลกขยะะพลาสติกแบบ ใช้ครั้งเดียว “CRA Thank You ขอบคุณที่ทิ้งกัน ปี ๒” มอบประกาศเกียรติคุณให้องค์กรพันธมิตร ๕ แห่ง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน), สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และ บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ภายหลังจัดบูธกิจกรรมรับแลกขยะพลาสติกจำนวน ๕๘ ครั้ง ตั้งแต่วันที่ ๓๑ มกราคม ถึง ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ รวมระยะเวลา ๔ เดือน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑,๐๓๕ คน โดยรวบรวมขยะพลาสติกได้ ๔,๓๘๖.๓๑ กิโลกรัม และนำส่งต่อให้กับ ๔ องค์กรรับจัดการ คือ บริษัท ซีโร่ เวสต์ โยโล จำกัด, โครงการพรีเชียสพลาสติกแบงค็อก, บริษัท เอ็น ๑๕ เทคโนโลยี จำกัด และ โพธิ์สิกขา ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมวัดจากแดง เพื่อนำไปแปรรูป (upcycling) ให้เป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่และไปเป็นพลังงานใหักับโรงไฟฟ้าโดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
กิจกรรมรับแลกขยะะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว “CRA Thank You ขอบคุณที่ทิ้งกัน ปี ๒” เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการรณรงค์ลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก “คุณทำได้ เลิกใช้พลาสติก” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๖๒ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายลด การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งของรัฐบาล ในฐานะองค์กรในกำกับของรัฐ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็น องค์กรต้นแบบให้กับสังคมเรื่องการคัดแยกขยะและลดการใช้พลาสติก โดยกิจกรรมในปีแรกจัดขึ้น ภายในราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เน้นการปลูกฝังให้บุคลากรมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการ ลดละเลิกการใช้พลาสติกและโฟม และสร้างวินัยในการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นตัวอย่างให้ กับบุคคลอื่น ทั้งในครอบครัวและในองค์กร ต่อมาในปีนี้ซึ่งเป็นปีที่ ๒ จึงได้ขยายกิจกรรมไปสู่พื้นที่ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะฯ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้ง ๕ แห่ง
สำหรับ ๔ องค์กรรับจัดการขยะพลาสติก ได้นำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากขยะพลาสติก มาแสดงในงาน ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าแฟชั่น กระถางต้นไม้ จานรองแก้ว รวมถึงบอร์ดแสดงขั้นตอน การจัดการขยะและร่วมเสวนา “จับมือกันผลักดันให้โลกสวยงาม” ร่วมกับผู้บริหารจากองค์การ บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางบริหารจัดการขยะ พลาสติกในชุมชน เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้จำนวน ๕๘๒.๒๓ ต้น
กิจกรรม “CRA Thank You ขอบคุณที่ทิ้งกัน” มุ่งเน้นไปที่การปลูกจิตสำนึกเรื่องการลดใช้ พลาสติก และอยากเห็นผู้คนเริ่มคัดแยกขยะพลาสติกด้วยตัวเอง เพียงแค่ทำให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนได้ “เริ่ม” ลงมือแยกขยะจนติดเป็นนิสัยและทำสิ่งนี้ต่อไปแม้ว่าจะไม่มีกิจกรรมนี้แล้วก็ตาม แค่นั้นก็ถือว่าบรรลุจุดประสงค์ของกิจกรรมนี้แล้ว